Blue Carbon แหล่งกักเก็บคาร์บอนสู้โลกร้อน ที่มีศักยภาพมากกว่าป่าไม้ 10 เท่า
climate
58

Blue Carbon แหล่งกักเก็บคาร์บอนสู้โลกร้อน ที่มีศักยภาพมากกว่าป่าไม้ 10 เท่า

    การปลูกป่าเป็นทางออกในการดูดซับคาร์บอน หรือเรียกว่า Green Carbon แต่การเพิ่มพื้นที่ป่านั้นต้องใช้เวลา แต่ระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอน หรือ "คาร์บอนซิงค์" ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าป่าไม้ถึง 10 เท่า ดังนั้นบลูคาร์บอนจะเป็นทางรอดสู้ภาวะโลกร้อน

 

นักวิทยาศาสตร์และนักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมทั่วโลกได้เรียกร้องให้ประเทศต่างๆ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างต่อเนื่อง แต่ดูเหมือนสถานการณ์ยิ่งเลวร้ายลง เนื่องจากอิทธิพลของคลื่นความร้อนทำให้เกิดสภาพอากาสสุดขั้วในหลายภูมิภาคของโลก อย่างเช่นในประเทศไทยที่ช่วงหน้าร้อน ปี 2024 อากาศร้อนผิดปกติอย่างมาก ดังนั้นการปลูกป่าอาจไม่ทันการณ์ แต่กลไกการเพิ่มบลูคาร์บอนอาจจะเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนที่ทางรอดในการต่อสู้ภาวะโลกร้อน
 

Blue Carbon แหล่งกักเก็บคาร์บอนสู้โลกร้อน ที่มีศักยภาพมากกว่าป่าไม้ 10 เท่า

 

 

มหาสมุทรเป็นคาร์บอนซิงค์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก สามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่า 1 ใน 4 ที่มนุษย์ปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ สามารถลดผลกระทบจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 141-146 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี ดังนั้น "บลูคาร์บอน" (Blue Carbon) ที่เป็นระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งจะช่วยแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน เพื่อบรรลุเป้าหมาย Net Zero ได้

 

Blue Carbon แหล่งกักเก็บคาร์บอนสู้โลกร้อน ที่มีศักยภาพมากกว่าป่าไม้ 10 เท่า

 

บลูคาร์บอน คือ คาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกดูดซับโดยระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง เช่น ป่าชายเลน ที่ราบน้ำท่วมถึง แหล่งหญ้าทะเล ลุ่มน้ำเค็ม ฯลฯ โดยกักเก็บคาร์บอนในรูปของชีวมวล และการทับถมของตะกอนลงสู่ชั้นดิน และสามารถกักเก็บได้ยาวนานหลายพันปี โดยกิจกรรมฟื้นฟูพื้นที่ระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งจะช่วยลดผลกระทบจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 621-1,024 ล้านตันต่อปี

 

 

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ได้ริเริ่มโครงการปลูกป่าชายเลนเพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต ซึ่งกำหนดเป้าหมายระยะ 10 ปี (ปี 2565-2574) บนเนื้อที่ 300,000 ไร่ ใน 23 จังหวัดชายฝั่งทะเล โดยในปี 2565 มีพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินการสำหรับบุคคลภายนอกประมาณ 44,000 ไร่ และสำหรับชุมชนประมาณ 44,000 ไร่ 

 

หลังได้รับอนุมัติ ผู้เข้าร่วมจะต้องยื่นจดทะเบียนโครงการกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) ซึ่งเป็นหน่วยงานประเมินคาร์บอนเครดิต และหลังได้รับการอนุมัติโครงการแล้ว ผู้ร่วมโครงการจะต้องดำเนินการบำรุงดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องในระยะ 10 ปีขึ้นไป 


ทั้งนี้จากข้อมูลของ Verra​ ผู้ออกใบรับรองมาตรฐานคาร์บอนซึ่งเป็นตลาดชดเชยคาร์บอนแบบสมัครใจที่มีส่วนแบ่งทางการตลาดรายใหญ่ของโลก ระบุว่า มีโครงการบลูคาร์บอนจากพื้นที่ป่าชายเลน 8 โครงการ พื้นที่หญ้าทะเล 1 โครงการ ที่ผ่านการตรวจสอบ โดยมี 6 โครงการในประเทศเคนยา อินเดีย มาดากัสการ์ โคลอมเบีย กินี-บิสเซา เม็กซิโก และ ปากีสถาน ที่ดำเนินงานตั้งแต่ปี 2562

 

โครงการ "เดลตาบลูคาร์บอน" ในปากีสถานเป็นบลูคาร์บอนที่ใหญ่ที่สุดคือ ครอบคลุมพื้นที่ 325,000 เฮกตาร์ ใน 2566 มีการตกลงขายคาร์บอนเครดิต 300,000 ตัน ดังนั้น บลูคาร์บอนจะมาเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยในการแก้ไขปัญหาโลกร้อนได้ และจะเป็นอีกกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนเพื่อบรรลุเป้าหมาย Net Zero ของประเทศ

 

พระเอกของบลู คาร์บอน มีดังนี้

1. ป่าโกงกาง
โกงกางทั่วโลกคาดว่ามีพื้นที่อยู่ที่ระหว่าง 83,495 - 167,387 ตารางกิโลเมตร และคิดเป็นพื้นที่กักเก็บคาร์บอนถึง 10% ทั่วโลกปัจจุบันประเทศที่มีป่าโกงกางมากที่สุดในโลกคือ อินโดนีเซีย คิดเป็น 30% ของทั้งโลก และเมื่อรวมผืนป่าโกงกางอินโดนีเซีย บราซิล มาเลเซีย และปาปัวนิวกินี จะมีศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอนถึง 50% 

 

2. หญ้าทะเล
แม้ว่าพื้นที่เติบโตของหญ้าทะเลจะมีสัดส่วนเพียง 0.1% ของพื้นที่พื้นมหาสมุทร แต่พวกมันมีอัตราการกักเก็บคาร์บอนในมหาสมุทรทั้งหมด 10-18% หรือคิดเป็นปริมาณถึง 19.9 กิกะตันของคาร์บอนในทะเล โดยปัจจุบันโลกของเรามีพื้นที่หญ้าทะเลอยู่ที่ราว 300,000 ถึง 600,000 ตารางกิโลเมตร

 

3. ที่ลุ่มชื้นแฉะริมทะเล
ที่ลุ่มชื้นแฉะริมทะเล หรือบึงน้ำเค็ม มีพื้นที่รวมกันทั่วโลกประมาณ 22,000 ถึง 400,000 ตารางกิโลเมตร และทำให้ที่ลุ่มชื้นแฉะริมทะเลเป็นระบบกักเก็บคาร์บอนชีวภาพธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในโลก โดยระดับความลึกของชั้นดินใต้น้ำกักเก็บคาร์บอนที่มีอายุถึง 5,000 ปี

 

4. สาหร่ายทะเล
สาหร่ายผลิตสารประกอบที่มีความทนทานสูง และทำให้คาร์บอนชีวภาพอาจกักเก็บอยู่ในตะกอนหรือเคลื่อนย้ายไปยังทะเลลึกและเก็บไว้เป็นเวลานานนับพันปี ดังนั้นการอนุรักษ์พื้นที่การเติบโตของสาหร่ายทะเลตามธรรมชาติ และการเพาะเลี้ยงสาหร่ายทะเล จึงมีส่วนบรรเทาและการปรับตัวจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

 

อ้างอิง:

• https://www.igreenstory.co/blue-carbon-facts/
• http://www.deqp.go.th/institution/division/กองส-งเสร-มและเผยแพร/news

ข่าวล่าสุด

สัญญาณร้าย Climate Change 2024 จากเอลนีโญสู่ลานีญา ชาวนาไทยต้องรับมือให้ดี

สัญญาณร้าย Climate Change 2024 จากเอลนีโญสู่ลานีญา ชาวนาไทยต้องรับมือให้ดี

Read More...