อุณหภูมิโลกช่วง 12 เดือน สูงกว่ายุคก่อนอุตสาหกรรม 1.61 องศา เม.ย.ร้อนสุดๆ
heatwave
36

อุณหภูมิโลกช่วง 12 เดือน สูงกว่ายุคก่อนอุตสาหกรรม 1.61 องศา เม.ย.ร้อนสุดๆ

    อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา (พ.ค. 2566- เม.ย. 2567) สูงสุดเป็นประวัติการณ์ และสูงกว่าค่าเฉลี่ยยุคก่อนอุตสาหกรรมปี 2393-2443 อยู่ 1.61 องศาเซลเซียส โดยเมษายนปี 2567 เป็นเดือนที่มีอุณหภูมิสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์

 

โครงการบริการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโคเปอร์นิคัส (Copernicus Climate Change Service – C3S) ของสหภาพยุโรป (EU) เปิดเผยเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคมว่า อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา (พ.ค. 2566- เม.ย. 2567) สูงสุดเป็นประวัติการณ์ และสูงกว่าค่าเฉลี่ยยุคก่อนอุตสาหกรรมปี 2393-2443 อยู่ 1.61 องศาเซลเซียส 
 

 

นอกจากนั้น เมษายนปี 2567 เป็นเดือนที่มีอุณหภูมิสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ ทำให้อุณหภูมิของโลกพุ่งสูงทำลายสถิติติดต่อกันเป็นเดือนที่ 11 เช่นเดียวกับอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลโลกก็ร้อนขึ้นด้วยเช่นกัน ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวในหลายจุดทั่วโลก แน่นอนว่าเป็นผลพวงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือภาวะโลกร้อนที่มีสาเหตุหลักจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล

 

รายงานระบุว่า ยุโรปเป็นภูมิภาคที่อากาศร้อนขึ้นมากที่สุดในปีที่แล้ว โดยอุณหภูมิสูงขึ้นกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกถึง 2 เท่าตัว ขณะเดียวกัน คาดหมายกันว่าในปี 2023 ภัยพิบัติจากสภาพภูมิอากาศสร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจเป็นมูลค่าราว 14,300 ล้านดอลลาร์ และส่งผลกระทบต่อประชาชนกว่า 2 ล้านคน

อ้างอิง: https://www.reuters.com/business/environment/worlds-record-breaking-temperature-streak-extends-through-april-2024-05-08/

 

 

รายงานที่องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกแห่งสหประชาชาติ (WMO) ทำร่วมกับโคเปอร์นิคัส ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านสภาพภูมิอากาศของสหภาพยุโรป (อียู) ยังระบุว่า ยุโรปมีโอกาสเร่งรัดการเปลี่ยนผ่านสู่การใช้พลังงานหมุนเวียน เช่น ลม แสงอาทิตย์ และไฟฟ้าพลังน้ำ เพื่อรับมือผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งอียูสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน 44% เพิ่มขึ้นจาก 36% จากปี 2022 และถือเป็นปีที่ 2 ติดต่อกันที่การผลิตพลังงานหมุนเวียนมากกว่าเชื้อเพลิงฟอสซิล

 

รายงานล่าสุดระบุว่า อุณหภูมิเฉลี่ยในยุโรปในช่วง 5 ปีล่าสุดสูงกว่าระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม 2.3 องศาเซลเซียส เทียบกับอุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกที่สูงกว่าระดับดังกล่าวเพียง 1.3 องศาเซลเซียส ขณะที่ข้อตกลงปารีสปี 2015 กำหนดให้อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นจากระดับก่อนยุคอุตสาหกรรมไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส

เอลิซาเบธ แฮมดุช รองผู้อำนวยการโคเปอร์นิคัส ชี้ว่า ปี 2023 เป็นอีกปีที่อุณหภูมิในยุโรปสูงขึ้นและสภาพอากาศรุนแรงมากขึ้น ซึ่งรวมถึงไฟป่า คลื่นความร้อน ธารน้ำแข็งละลาย และไม่มีหิมะตก และรายงานสภาพภูมิอากาศโลกที่ดับเบิลยูเอ็มโอจัดทำขึ้นเป็นประจำทุกปีมานานถึง 3 ทศวรรษ เป็นสัญญาณเตือนภัยว่า โลกยังพยายามไม่มากพอในการต่อสู้กับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ซึ่งผลจากคลื่นความร้อนที่รุนแรงในยุโรปทำมีผู้เสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับความร้อนเพิ่มขึ้นราว 30% ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา

รายงานประเมินด้วยว่า ภัยพิบัติจากสภาพภูมิอากาศสร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจราว 14,300 ล้านดอลลาร์ในปี 2023 และส่งผลกระทบต่อประชาชนกว่า 2 ล้านคน ในทางกลับกันปี 2023 ยังเป็นปีที่ยุโรปเจอภัยพิบัติจากน้ำมากที่สุด โดยเกิดน้ำท่วมใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน 1.6 ล้านคน และพายุที่ส่งผลต่อประชาชน 550,000 คน
.

ข่าวล่าสุด

สัญญาณร้าย Climate Change 2024 จากเอลนีโญสู่ลานีญา ชาวนาไทยต้องรับมือให้ดี

สัญญาณร้าย Climate Change 2024 จากเอลนีโญสู่ลานีญา ชาวนาไทยต้องรับมือให้ดี

Read More...