โลกเข้าสู่ "ลานีญา" คนไทยเตรียมรับมือ "ฝนตกมาก-อุณหภูมิลด"
weather
19

โลกเข้าสู่ "ลานีญา" คนไทยเตรียมรับมือ "ฝนตกมาก-อุณหภูมิลด"

    ฤดูร้อน​ปี 2567 ที่กำลังจะ​ผ่านพ้น​ไป​เเละโลกกำลังเข้าสู่ "ลานีญา" จะส่งผลให้ประเทศไทยด้วยฝนที่จะตกมากกว่าปกติและอุณหภูมิที่ลดต่ำลง

"มหาสมุทรแปซิฟิก" เป็นแหล่งน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นตัวขับเคลื่อนสภาพอากาศทั่วโลก และกำลังจะเปลี่ยนสภาพอากาศในปีนี้ ระยะที่อบอุ่นของวัฏจักรอุณหภูมิในมหาสมุทรแปซิฟิก หรือที่รู้จักในชื่อ "เอลนีโญ" กำลังค่อยๆ เคลื่อนตัวลงและพร้อมที่จะเคลื่อนเข้าสู่เฟสที่ตรงกันข้าม นั่นคือ "ลานีญา" 

ปีที่เเล้วโลกต้องเผชิญกับปรากฏการณ์ "เอลนีโญ" ที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ ส่งผลให้เกิดภัยธรรมชาติครั้งใหญ่ในหลายพื้นที่ทั่วโลก จากอุณหภูมิสูงผิดปกติ เกิดไฟป่า ความแห้งแล้ง และคลื่นความร้อนปกคลุมทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ และอเมริกาใต้

ขณะที่อเมริกาเหนือต้องเผชิญกับฤดูหนาวที่ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์ แอฟริกาตอนใต้กลับเจอทั้งฝนตกหนักและแห้งแล้งอย่างรุนแรง ทำให้พืชผลเสียหายและส่งผลกระทบต่อความมั่นคงด้านอาหาร

 

สิ่งที่น่ากังวล คือ การปรากฏตัวของเอลนีโญยังส่งผลให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกและอุณหภูมิผิวน้ำทะเลพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นสัญญาณเตือนภัยของภาวะโลกร้อน

เเต่เวลานี้ เอลนีโญกำลังอ่อนกำลังลง เเละเมื่อจบลงโลกจะเข้าสู่ ความเป็น กลาง 3-5 เดือน ก่อนที่จะเข้าสู่ปรากฏการณ์ลานีญาอย่างเต็มตัว และยังต้องใช้เวลาอีกหลายเดือนที่กว่าที่ลานีญา จะเริ่มส่งผลต่อสภาพอากาศ หมายความว่าอุณหภูมิจะยังคงสูงต่อไป จนสามารถทำลายสถิติของปีที่แล้ว หากลานีญาที่เกิดในปีนี้ไม่รุนแรงมากเพียงพอ

ลานีญา คืออะไร

ลานีญาเป็นปรากฏการณ์ตรงข้ามกับเอลนีโญ แต่ก็ส่งผลกระทบ ต่างกันแค่ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นเเต่ละพื้นที่เท่านั้นที่จะเเตกต่างกันอย่างไร 

ลานีญา เป็นปรากฏการณ์ที่อุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณตอนกลางและตะวันออกตอนกลางของแปซิฟิกเขตศูนย์สูตรต่ำกว่าปกติประมาณ 0.5 องศาเซลเซียสลงไป ซึ่งปรากฏการณ์ลานีญาจะเกิดขึ้นได้ทุก 2-3 ปี และปกติจะเกิดนานประมาณ 9-12 เดือน แต่บางครั้งอาจอยู่ได้นานถึง 2 ปี 

ตามการคาดการณ์ของ NOAA โลกจะเข้าสู่ "ลานีญา" ในช่วงเดือนสิงหาคมนี้มาติดตามผลกระทบของลานีญาและวิธีรับมือกับปรากฏการณ์ครั้งนี้

ลานีญา แบ่งออกได้เป็น 2 ช่วง

ระหว่างเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์

ตอนใต้ของทวีปแอฟริกาที่ติดกับมหาสมุทรอินเดีย คาบสมุทรมลายูและอินโดจีน จะมีภูมิอากาศร้อนชื้น ส่วนแอฟริกากลางฝั่งตะวันออกจะมีฝนตกชุก ขณะที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออก รัฐอลาสกาและแคนาดาฝั่งตะวันตก รวมถึงทางตอนใต้ของออสเตรเลียจะมีอากาศร้อน

ช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม

ลานีญาจะสร้างผลกระทบต่อกลุ่มประเทศในมหาสมุทรแปซิฟิก ในทวีปเอเชีย โอเซียเนีย อเมริกากลางและอเมริกาใต้

โดยสรุปคือ ระหว่างเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ และ เดือนมิถุนายน-สิงหาคม ในแต่ละภูมิภาคของโลกจะได้รับผลกระทบที่แตกต่างกันออกไป

เตือน "ลานีญา" ทวีความรุนแรงของปรากฏการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว

ผู้อำนวยการสมาคมเสริมสร้างขีดความสามารถ แห่งมหาวิทยาลัยโคโลราโดโบลเดอร์ ตั้งข้อสังเกตว่า ปรากฏการณ์ "ลานีญา" ไม่เพียงแค่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศเท่านั้น แต่ยังอาจทำให้รูปแบบการกระจายตัวของฝนและความร้อนในบางภูมิภาคมีความรุนแรงมากขึ้นอีกด้วย โดยในพื้นที่ที่มักจะมีฝนตกชุกในปกติ เมื่อเข้าสู่ลานีญา ฝนบริเวณนั้นจะตกหนักและมีปริมาณมากกว่าปกติ แต่ในทางกลับกัน ถ้าเป็นพื้นที่ที่แห้งแล้งอยู่แล้ว ก็มีแนวโน้มที่จะยิ่งแห้งแล้งรุนแรงขึ้นไปอีก

จากคำเตือนดังกล่าว ชี้ให้เห็นถึงผลกระทบจากปรากฏการณ์ลานีญาที่อาจจะนำพาความแปรปรวนและความรุนแรงของสภาพอากาศมาสู่หลายพื้นที่ทั่วโลก ซึ่งเป็นประเด็นที่ทุกประเทศรวมถึงประเทศไทยต้องให้ความสำคัญและเตรียมรับมืออย่างจริงจังต่อไป

"ลานีญา" กระทบไทย "ฝนตกมาก-อุณหภูมิลด"

กรมอุตุนิยมวิทยา ระบุว่า ปรากฏการณ์ลานีญาจะส่งผลให้ปริมาณฝนของประเทศไทยส่วนใหญ่สูงกว่าปกติ โดยเฉพาะช่วงฤดูร้อนและต้นฤดูฝนเป็นระยะที่ลานีญามีผลกระทบต่อสภาวะฝนของประเทศไทยชัดเจนกว่าช่วงอื่น ส่วนในช่วงกลางและปลายฤดูฝนลานีญามีผลกระทบต่อสภาวะฝนของประเทศไทยไม่ชัดเจน 

อุณหภูมิปรากฏว่า ลานีญามีผลกระทบต่ออุณหภูมิในประเทศไทยชัดเจนกว่าฝน โดยทุกภาคของประเทศไทยมีอุณหภูมิต่ำกว่าปกติทุกฤดู และลานีญาที่มีขนาดปานกลางถึงรุนแรง ส่งผลให้ปริมาณฝนของประเทศไทยสูงกว่าปกติมากขึ้น ขณะที่อุณหภูมิต่ำกว่าปกติมากขึ้น

โลกเข้าสู่ \"ลานีญา\" คนไทยเตรียมรับมือ \"ฝนตกมาก-อุณหภูมิลด\"

แบบจำลองปริมาณน้ำท่าในปี 2567-2568

โดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีความเป็นไปได้ 3 รูปแบบ

รูปแบบที่ 1 หากช่วงฤดูฝนของปี 2567 มีการพัฒนาเข้าสู่สภาวะลานีญารุนแรง จะทำให้ปริมาณน้ำ สูงถึง 14,000 ล้าน ลบ.ม

รูปแบบที่ 2 หากช่วงฤดูฝนของปี 2567 มีการพัฒนาเข้าสู่สภาวะลานีญาอ่อน จะทำให้ปริมาณน้ำมีประมาณ 6,000 – 8,000 ล้าน ลบ.ม.

รูปแบบที่ 3 หากในช่วงฤดูฝนของปี 2567 สภาวะลานีญาอยู่ในระดับปกติ และในปี 2568 ปริมาณน้ำจะอยู่ที่ระดับประมาณ 6,000 ล้าน ลบ.ม. 

ข่าวล่าสุด

ปี 67 อุณหภูมิทะเลไทยร้อนสุดในรอบ 40 ปี เสี่ยงเกิดปะการังฟอกขาวครั้งใหญ่

ปี 67 อุณหภูมิทะเลไทยร้อนสุดในรอบ 40 ปี เสี่ยงเกิดปะการังฟอกขาวครั้งใหญ่

Read More...