ธุรกิจไทยเตรียมรับมือ EU ผ่านกฎหมายห่วงโซ่อุปทาน เข้มทำธุรกิจยั่งยืน
esg
289

ธุรกิจไทยเตรียมรับมือ EU ผ่านกฎหมายห่วงโซ่อุปทาน เข้มทำธุรกิจยั่งยืน

    "กฎหมายห่วงโซ่อุปทาน" ฉบับล่าสุดของอียู กำลังสร้างความกดดันต่อบรรดา "ธุรกิจ" ในการปรับเปลี่ยนแนวทางการให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยกำหนดให้ต้องตรวจสอบและแสดงมาตรการป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมตลอดห่วงโซ่การผลิต

"ความยั่งยืน" เป็นหนึ่งในวาระสำคัญของทุกองค์กรและภาคธุรกิจ การดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรมและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จึงถูกผลักดันให้เป็นมาตรฐานใหม่ในการแข่งขัน กฎหมายห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Act) ถือเป็นกฎหมายก้าวหน้าฉบับใหม่ที่มีเป้าหมายเพื่อผลักดันให้บริษัทต่างๆ ปฏิบัติตามหลักการพื้นฐานด้านสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมอย่างเข้มงวด

"กรุงเทพธุรกิจ" เปิดเวทีสัมมนา Go Green 2024:The Ambition of Thailand เพื่อสร้างพลังร่วมขับเคลื่อนสังคมและ "เศรษฐกิจสีเขียว" โดยนำเสนอนโยบายของภาครัฐในการลงทุนเพื่อลดการปล่อยคาร์บอน พร้อมทั้งนำเสนอแนวทางการขับเคลื่อนของภาคเอกชน

หนึ่งในเนื้อหาของงานสัมนาคือ กติกาโลกมันเปลี่ยนไป ต้องปรับองค์กรให้ทัน "กฎหมายห่วงโซ่อุปทาน ผลักดันโลกทำธุรกิจอย่างยั่งยืน" โดย ดร.ธันยพร กริชติทายาวุธ ผู้อำนวยการสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย

ดร.ธันยพร ระบุว่า กฎหมายต่างชาติมีการเปลี่ยนแปลงตลอด เพื่อทำให้ขอบเขตห่วงโซ่อุปทานมีความยั่งยืนขึ้น ล่าสุดมีการเปลี่ยนผ่านที่จะเกิดขึ้น คือ กฎหมายห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Act)  โดยอียู กำหนดให้ภาคเอกชนไม่ว่าจะเป็นเซ็กเตอร์ใดก็ตาม จะต้องตรวจสอบห่วงโซ่อุปทาน เพื่อเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมในด้านสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม 

สาระสำคัญของร่างกฎหมายฉบับนี้ คือ การกำกับดูแลให้ภาคเอกชนอียู รวมถึงบริษัทต่างๆ ทั่วโลกที่ทำธุรกิจกับบริษัทในอียู ดำเนินธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาลและมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม โดยวางกฎเกณฑ์ให้มี การตรวจสอบ (Due Diligence) ห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งรวมถึง การจัดทำนโยบาย Due Diligence Policy และ จรรยาบรรณธุรกิจ (Code of Conduct) สำหรับพนักงาน บริษัทสาขา และ suppliers เพื่อป้องกันการละเมิด สิทธิมนุษยชน เช่น สิทธิแรงงานข้ามชาติ  รวมทั้งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม (เช่น การสร้างมลพิษ) ตามมาตรฐานสากล อาทิ UN และ OECD และทำการรายงานผล ควบคู่ไปกับการดูแลและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะ "บริษัทขนาดใหญ่" 

"คาดว่ากฎหมายจะผ่านช่วงวันที่ 14 พ.ค. ปีนี้ หลังจากนั้น องค์กรขนาดใหญ่ที่มีมูลค่าธุรกิจประมาณ 450 ล้านยูโร จะได้รับผลกระทบก่อน รวมทั้งนอกสภาพยุโรปที่ทำการค้าในห่วงโซ่อุปทาน ตอนนี้อียูได้ สหรัฐฯ เเละจีนเเล้ว หมายความว่าเกิดขึ้นแน่นอน ครึ่งโลกสามารถการตรวจสอบห่วงโซ่อุปทาน เช่นเดียวกันกับประเทศไทยถ้าต้องการพัฒนา "  ดร.ธันยพร กล่าว 

อียูเป็นตลาดสำคัญของสินค้าส่งออกจากไทย

กลุ่มสินค้าประเภทเกษตรและอาหาร เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย รองเท้า ตลอดจนอัญมณีและเครื่องประดับ ซึ่งถือเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ดังนั้น การปรับตัวเพื่อดำเนินการตามมาตรฐานใหม่ให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ จึงเป็นทั้งโอกาสและความท้าทาย ให้ธุรกิจไทยเตรียมความพร้อมให้สามารถปรับตัวเท่าทันกระแสการค้ายุคใหม่และเติบโตได้อย่างยั่งยืน 

ข่าวล่าสุด

“TRUE” เผย 3 ปัจจัยหลัก สิ่งแวดล้อม และ สังคม พัฒนาโลกเพื่อยั่งยืน

“TRUE” เผย 3 ปัจจัยหลัก สิ่งแวดล้อม และ สังคม พัฒนาโลกเพื่อยั่งยืน

Read More...