ถอดรหัสกลยุทธ์ประเทศผู้นำพลังงานสะอาด ปลดล็อกนโยบายพลังงานไทย
net-zero
21

ถอดรหัสกลยุทธ์ประเทศผู้นำพลังงานสะอาด ปลดล็อกนโยบายพลังงานไทย

    ศึกษาประสบการณ์ของประเทศผู้นำที่ประสบความสำเร็จด้วยนโยบายและมาตรการสู่พลังงานสะอาดอย่างยั่งยืน ในขณะที่ประเทศไทย โดยกระทรวงพลังงาน ส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การอนุรักษ์พลังงาน จัดหาแหล่งพลังงานอย่างเพียงพอ และยั่งยืน

การเปลี่ยนผ่านสู่ "พลังงานสะอาด" และ "พลังงานหมุนเวียน" เป็นประเด็นสำคัญที่ทั่วโลกต้องให้ความสนใจ เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความยั่งยืนของพลังงาน หลายประเทศได้ผลักดันนโยบายและมาตรการต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาพลังงานสะอาด ซึ่งสร้างผลสำเร็จทั้งในระดับนโยบายและการลงทุนจริง

ประเทศผู้นำด้านพลังงานสะอาดอย่าง เดนมาร์ก เยอรมนี และนอร์เวย์ ต่างมุ่งมั่นในการส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน ผ่านนโยบายที่หลากหลาย ทั้งการให้เงินอุดหนุน ภาษีพิเศษสำหรับพลังงานฟอสซิล รวมถึงโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานพลังงานหมุนเวียนขนาดใหญ่ จนสามารถทำให้พลังงานหมุนเวียนกลายเป็นแหล่งพลังงานหลักของประเทศ

นอกจากนี้ ยังมีประเทศกำลังพัฒนาอย่าง "ประเทศไทย" ที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาพลังงานทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม "กระทรวงพลังงาน" ที่ได้กำหนดแผนไว้ใน ร่างแผนพลังงานชาติ เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยเร่งขยายโครงการด้านพลังงานสะอาดให้มีสัดส่วนมากกว่า 50% ภายในปี 2573 เช่นกัน

 

การขับเคลื่อนนโยบายพลังงานสะอาดของประเทศต่างๆ จะส่งผลกระทบอย่างไร มีกุญแจและปัจจัยความสำเร็จอะไรบ้าง

เดนมาร์ก

เดนมาร์กเป็นผู้นำด้านพลังงานลมและมีเป้าหมายใช้พลังงานหมุนเวียน 100% ภายในปี 2593

ในปี 2563 เดนมาร์กผลิตพลังงานจากกังหันลมได้ประมาณ 48% ของความต้องการไฟฟ้าทั้งหมด

เดนมาร์กมีนโยบายสนับสนุนพลังงานหมุนเวียนด้วยการให้เงินอุดหนุนและภาษีพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

เยอรมนี

เยอรมนีเป็นผู้นำในการปฏิรูปพลังงานหรือ Energiewende เพื่อทดแทนพลังงานนิวเคลียร์และฟอสซิลด้วยพลังงานหมุนเวียน

ในปี 2020 พลังงานหมุนเวียนคิดเป็น 45.3% ของการผลิตไฟฟ้าในเยอรมนี

เยอรมนีมีนโยบายสนับสนุนพลังงานหมุนเวียนหลายรูปแบบ เช่น อัตราค่าไฟผันแปรตามปริมาณการผลิต เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ และโปรแกรมส่งเสริมการลงทุน

นอร์เวย์

นอร์เวย์เป็นผู้ผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติรายใหญ่ แต่ก็เป็นผู้นำด้านพลังงานน้ำพลังงานหมุนเวียน

พลังงานน้ำให้ประมาณ 90% ของไฟฟ้าในนอร์เวย์

รัฐบาลนอร์เวย์ตั้งเป้าทำให้ภาคขนส่งปลอดคาร์บอนภายในปี 2025 โดยส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าด้วยมาตรการจูงใจต่างๆ

นอกจากนี้ ประเทศผู้นำอื่นๆ เช่น สวีเดน ฟินแลนด์ และไอซ์แลนด์ ก็ประสบความสำเร็จในการผลิตและใช้พลังงานหมุนเวียนสูง เนื่องจากมีนโยบายสนับสนุนอย่างแข็งแกร่งและมาตรการจูงใจที่หลากหลาย

อินเดีย

นอกจากวางนโยบายแห่งชาติ ในการพัฒนาประเทศ เป็นศูนย์ผลิตและส่งออก “พลังงานไฮโดรเจนสีเขียว” (green hydrogen)ให้ได้ 5 ล้านตันต่อปี ภายในปี พ.ศ. 2573 ยังวางเป้าหมายใช้พลังงานสะอาด ให้มีสัดส่วนมากถึง 450 กิกะวัตต์ ภายในปีเดียวกัน

จีน

มีสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนมากที่สุดในโลก หรือ 49.22% จากกำลังผลิตรวม 173.3 กิกะวัตต์ทั่วโลก

วางเป้าหมายลดการใช้พลังงานฟอสซิล เพิ่มสัดส่วนพลังงานสะอาดทั่วประเทศให้ได้ถึง 35% ภายในปี 2573

นี่คือกรณีศึกษาประเทศผู้นำพลังงานสะอาด ท่ามกลางการผลักดันนโยบายพลังงานไทยสู่พลังงานสะอาดอย่างยั่งยืน 

ชำนาญ กายประสิทธิ์ รองอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน กล่าวในงาน Go Green 2024:The Ambition of Thailand จัดโดยกรุงเทพธุรกิจ บรรยายพิเศษในหัวข้อ Green Energy Strategy ยุทธศาสตร์พลังงานสีเขียว กล่าวถึง การดำเนินงานด้านการอนุรักษ์พลังงาน โดยค่าประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ในปี 2566 คือ 7.64 ซึ่งเป้าหมายการใช้พลังงาน (EI) ลง 30% ในปี 2580 เมื่อเทียบกับปีฐาน 2553 โดยไตรมาส 1-4 ของปี 2566 การใช้พลังงานขั้นสุดท้าย 83,068 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ และ GDP ของประเทศ 10,877,194 ล้านบาท รวมถึงความเข้มข้นการใช้พลังงาน 7.64 พันต้นเทียบเท่ากับน้ำมันดิบต่อพันล้านบาท

นโยบายพลังงานไทยยึดหลักแผนพลังงานชาติ (Nation Energy Plan)

  • สร้างประโยชน์ให้กับประชาชน
  • เพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันของประเทศ
  • ขับเคลื่อนพลังงานไทยให้สอดคล้องกับทิศทางพลังงานโลก

นอกจากนี้ยังเพิ่มสัดส่วนกำลังการผลิตไฟฟ้าใหม่ จากพลังงานหมุนเวียน ไม่น้อยกว่า 50% โดยพิจารณาร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน นโยบาย EV 30@30 ปรับเปลี่ยนการใช้ พลังงานภาคขนส่ง เป็นพลังงานไฟฟ้าสีเขียว ผ่านเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า รวมทั้งปรับเพิ่ม ประสิทธิภาพการใช้พลังงานมากกว่า 30%

การปรับเปลี่ยนไฟฟ้านั้น 

  • เพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าใหม่ด้วยพลังงานหมุนเวียน
  • ปรับลดสัดส่วนการผลิตด้วยพลังงาน ไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิลที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง
  • พัฒนาเทคโนโลยี CCUS
  • พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบไฟฟ้ายุคใหม่ (Grid Modernization)
  • ผลิตพลังงาน และโครงสร้างพื้นฐาน แบบกระจายศูนย์ที่มีความยืดหยุ่น
  • เปลี่ยนรูปแบบการใช้พลังงานมาเป็นพลังงานไฟฟ้าจากเทคโนโลยี และนวัตกรรมคาร์บอนต่ำ

เป้าหมายการส่งเสริมไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน

ในปี 2580 เพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าจาก RE 3 เท่า เมื่อเทียบกับปี 2566 และเพิ่มขึ้น 1.6 เท่า เมื่อเทียบกับ แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก AEDP 2018 โดยใช้พลังงานหมุนเวียน 48% เชื้อเพลิงฟอสซิล 52% รวมเป็น 292,818 GWh

ปัญหาและอุปสรรคการส่งเสริมพลังงานไฟฟ้าจาก RE

ความมั่นคงด้านพลังงาน

ในการเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้า จากพลังงานหมุนเวียน ที่มีความไม่แน่นอนในการผลิต ส่งผล กระทบต่อความมั่นคงของระบบ ไฟฟ้า แนวทางแก้ปัญหา ปรับโครงสร้างกิจการพลังงานตามแนวทาง 4D1E

ความสามารถในการจ่าย

ด้วยต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนหลายชนิดยังคงสูงกว่า เชื้อเพลิงฟอสซิล วิธีแก้คือ การพัฒนากลไก/เครื่องมือทางการเงิน รวมถึงจัดหาแหล่งเงินทุน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการ ลงทุนด้านพลังงานสีเขียว

นโยบาย ข้อจำกัดของนโยบาย กฎหมาย/กฎระเบียบ

ในการส่งเสริมพลังงานสีเขียวด้วยปรับปรุงกฎระเบียบให้สามารถรองรับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน

ทักษะ และความสามารถ

ความรู้ของบุคลากร ด้านพลังงานหมุนเวียน ยังไม่เพียงพอ รวมทั้งการสร้างความตระหนักรู้ ยกระดับองค์ความรู้ และสร้างเสริมขีดความสามารถของบุคลากรด้านพลังงานให้มากขึ้นสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้แก่บุคลากรด้านพลังงานเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ และพร้อมรองรับการเปลี่ยนผ่าน

ที่มา

ข่าวล่าสุด

SPALI ผนึกกำลัง TOA ผุด 2 โปรเจ็กต์ รักษ์โลก

SPALI ผนึกกำลัง TOA ผุด 2 โปรเจ็กต์ รักษ์โลก

Read More...