ไทยเร่งผลักดันร่าง พรบ.โลกร้อน รับมือวิกฤต ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ
net-zero
39

ไทยเร่งผลักดันร่าง พรบ.โลกร้อน รับมือวิกฤต ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ

    ไทยเร่งผลักดันร่าง พรบ.โลกร้อน ใช้เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ รับมือวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

 ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ กฎหมายโลกร้อน: เกณฑ์ใหม่กับโอกาสประเทศไทย ในงาน A Call to Action Go Green 2024 : The Ambition of Thailand จัดโดย "กรุงเทพธุรกิจ" เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2567

 

ดร.พิรุณ กล่าวว่า กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมกำลังเร่งดำเนินการออกกฎหมายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อเป็นหนึ่งในกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไปพร้อมกับรับมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยขณะนี้ ร่างพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ… อยู่ในขั้นตอนการประชุมอนุกรรมการกฎหมาย และจะเร่งนำเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอีกครั้งในอีก 2 เดือนข้างหน้า

 

ไทยเร่งผลักดันร่าง พรบ.โลกร้อน รับมือวิกฤต ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ

ทั้งนี้ การผลักดันการออกกฎหมายไม่ได้หมายความว่าจะหยิบประเด็นอะไรไปบรรจุไว้ในกฎหมายได้ แต่ได้มีการหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รวมทั้งกรมสรรพสามิต และหน่วยงานอื่นๆ เพื่อนำประเด็นที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานต่างๆ มาประกอบให้รอบด้านก่อนนำเสนอ ครม. 

 

สำหรับ "ร่างกฎหมายโลกร้อน" มีทั้งหมด 14 หมวด ได้แก่...

1. การรับรองสิทธิของประชาชน และกำหนดการมีส่วนร่วมของแต่ละภาคส่วน 

เพื่อให้ประชาชนได้รับข่าวสารทั้งในมิติของการลดก๊าซเรือนกระจกและความเสี่ยงต่อภัยพิบัติที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพ โดย "Data Center" ของกรมร่วมมือกับทาง "Climate Center"  ของทางเศรษฐกิจด้วยเช่นกัน

2. เป้าหมายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย

สอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศ โดยแต่ละหน่วยงานกำหนดเป้าหมายและแผนให้สอดคล้องบูรณาการเป้าหมายกับภารกิจของตนเอง

3. คณะกรรมการนโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ (กนภ.) 

บูรณาการในการทำงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยกระดับพ.ร.บ. นโยบาย มาตรการ และการดำเนินงาน

4. กองทุนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 

 

5. แผนแม่บทรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ครอบคลุมทั้งสถานการณ์เป้าหมายแนวทางการเนินงาน ตลอดจนการติดตามผล

6. ข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคเอกชน 

จัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกของประเทศและส่งข้อมูลผ่านรายงานแห่งชาติไปยัง UNFCCC เพื่อประโยชน์ในการขับเคลื่อนระบบซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการลดก๊าซเรือนกระจก

7. แผนปฎิบัติการลดก๊าซเรือนกระจก 

กำหนดแนวทางการดำเนินงาน ของหน่วยงานรัฐให้สอดคล้องกับเป้าหมายและแผนแม่บท

8. ระบบการซื้อขายสิทธิ์ในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือคาร์บอนเครดิต 

เพื่อให้มีมาตรการภาคบังคับในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจและสังคมคาร์บอนต่ำโดยกำหนดดูแลระบบซื้อขายสิทธิแผนการจัดสรรสิทธิ์การควบคุม โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลสูง

9. ระบบภาษีคาร์บอน 

เก็บภาษีและค่าธรรมเนียมคาร์บอนจากผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงฟอร์ดซิวภาพคมนาคมขนส่งผ้าการใช้ไฟฟ้า และจากผลิตภัณฑ์ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง ซึ่งดำเนินการโดยกรมสรรพสามิต เพื่อลดการปล่อยและปัญหาการรั่วไหลของก๊าซเรือนกระจก

10. คาร์บอนเครดิต 

กลไกการบริหารจัดการคาร์บอนเครดิตการกำกับดูแลภายในและระหว่างประเทศ รวมถึงการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการธุรกิจคาร์บอนเครดิต 

11. การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 

ไม่ว่าจะในระดับจังหวัดและพื้นที่ชุมชน ทั้งการให้ข้อมูลและก่อให้เกิดองค์ความรู้เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน

12. มาตรการการส่งเสริมการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 

การสนับสนุนทางการเงินจากกองทุนแก่หน่วยงานของรัฐองค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมท้องถิ่นและการศึกษา

13. มาตรฐานการจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม

14.บทกำหนดโทษป้องกันยับยั้งไม่ให้เกิดการกระทำฝ่าฝืนมาตรการบังคับ 

อาทิเช่น การจงใจรายงานข้อมูลเท็จ ฝ่าฝืนระบบซื้อขายสิทธิ และบทบัญญัติเกี่ยวกับคาร์บอนเครดิต

 

ไทยเร่งผลักดันร่าง พรบ.โลกร้อน รับมือวิกฤต ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ

 

ดร.พิรุณ กล่าวว่า ทิศทางการเดินหน้าสู่การปล่อยก๊าซสุทธิเป็นศูนย์มีการกำหนดไว้อย่างชัดเจนจากที่ประชุม COP28 หากทั้งโลกจะมุ่งสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์จำเป็นต้องลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 43% ภายในปี 2030 แต่ปัจจุบันการดําเนินการจริงนั้นทำได้ยังไม่ถึง 10%

 

สำหรับประเทศไทยมีการตั้งเป้าไว้สอดคล้องกัน โดยปัจจุบันกว่า 33.2% ในการขับเคลื่อนมาจากความพยายามและกลไกภายในประเทศเอง และอีก 6.8% คือการเงินระหว่างประเทศ และอื่นๆ อาทิ มาตรการกลไกซื้อขายคาร์บอนตามความตกลงปารีส

 

อย่างไรก็ตาม ความคืบหน้าในการทํางานของประเทศไทยจะมีความอย่างเข้มข้นมากขึ้นในการสร้างบรรยากาศให้กับทางภาคธุรกิจ หัวใจสําคัญคือสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นเรื่องที่เกิดขึ้นไม่บ่อย จะเกิดบ่อยครั้งและรุนแรงขึ้นของภัยพิบัติต่างๆ ขณะที่อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น ตัวอย่างเช่น ทะเลแอนตาร์กติกที่ปัจจุบันคลื่นความร้อนทำให้น้ำแข็งละลายจำนวนมาก สถิติอุณหภูมิสูงสุดตลอดกาลที่ -9.4°C สูงกว่าค่าเฉลี่ยตามฤดูกาลประมาณ 40°C ซึ่งถือเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ

 

โลกที่เคยร้อนขณะนี้ได้กลายเป็น "โลกเดือด" โดยเส้นแบ่งระหว่างโลกสีแดงกับโลกสีเขียวคือการรักษาอุณหภูมิไม่ให้เกิน 1.5°C ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความพยายามและความร่วมมือของทุกภาคส่วนในภาวะที่มันท้าทายมากที่สุดในการเปลี่ยนผ่านของทั้งโลกไปสู่เป้าหมาย

 

ไทยเร่งผลักดันร่าง พรบ.โลกร้อน รับมือวิกฤต ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ

ข่าวล่าสุด

นักเคลื่อนไหวฟ้องรัฐบาล 'รัสเซีย' เหตุนโยบายรับมือโลกร้อน 'อ่อนแอ' เกินไป

นักเคลื่อนไหวฟ้องรัฐบาล 'รัสเซีย' เหตุนโยบายรับมือโลกร้อน 'อ่อนแอ' เกินไป

Read More...