ผู้นำ COP29 ชี้ กุญแจสู่ทุนล้านล้านดอลลาร์ เพื่อการเปลี่ยนแปลงสีเขียว
net-zero
8

ผู้นำ COP29 ชี้ กุญแจสู่ทุนล้านล้านดอลลาร์ เพื่อการเปลี่ยนแปลงสีเขียว

    ผู้นำ COP29 กระตุ้นการช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาลงทุนมูลค่าหลายล้านล้านดอลลาร์ เพื่อการเปลี่ยนแปลงสีเขียว ชี้หัวใจสำคัญคือความโปร่งใส

ในเดือนพฤศจิกายนนี้ เวทีการประชุมสุดยอดด้านสภาพภูมิอากาศแห่งสหประชาชาติ หรือ "COP29" จะจัดขึ้นในเมืองบากู ประเทศอาเซอร์ไบจาน โดยมีประเด็นร้อนรอการเจรจาอยู่หลายประการ หนึ่งในนั้นคือการผลักดันให้ประเทศยากจนมีความโปร่งใสในการรายงานข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมและการใช้จ่ายเงินทุนเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

 

มุกห์ตาร์ บาบาเยฟ รัฐมนตรีกระทรวงนิเวศวิทยาของอาเซอร์ไบจาน และผู้นำการประชุมสุดยอดในครั้งนี้ ออกมาเรียกร้องให้ประเทศกำลังพัฒนาจัดทำรายงานที่ชัดเจนและโปร่งใส เพื่อสนับสนุนการเรียกร้องเงินทุนจำนวนมหาศาลถึงหลายล้านล้านดอลลาร์สำหรับการรับมือกับวิกฤตสภาพอากาศ

 

มันสำคัญมากที่จะต้องสร้างความไว้วางใจที่ถูกต้อง ดี และซื่อสัตย์ระหว่างทั้งสองฝ่าย นี่เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากในการสร้างกลไกความโปร่งใสระหว่างประเทศต่างๆ

 

ในการประชุม COP29 ครั้งนี้ ประเทศต่างๆ คาดว่าจะต้องตั้งเป้าหมายระดับโลกใหม่ในการจัดสรรเงินทุนมหาศาลให้แก่ประเทศยากจน เพื่อช่วยประเทศเหล่านั้นลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและปรับตัวให้ทันต่อผลกระทบอันรุนแรงของสภาพอากาศ ซึ่งสอดคล้องกับความจำเป็นในการจำกัดอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นไว้ที่ 1.5 องศาเซลเซียส เหนือระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม โดยรัฐบาลบางประเทศจากซีกโลกใต้เรียกร้องให้มีเงินทุนมากกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี

 

การตกลงในประเด็นนี้คาดว่าจะถูกถกเถียงกันอย่างรุนแรง เนื่องจากประเทศร่ำรวยอาจไม่ยินยอมที่จะมอบเงินจำนวนมหาศาลดังกล่าวจากผู้เสียภาษีของตน ในขณะที่บทบาทของแหล่งเงินทุนอื่นๆ เช่น ภาคเอกชน ยังคงไม่ชัดเจน

 

ความพยายามในการปรับปรุงความโปร่งใสของการบัญชีสำหรับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการใช้จ่ายด้านสภาพอากาศ จึงถือเป็นก้าวแรกที่สำคัญ

 

ความโปร่งใส เป็นความไว้วางใจระหว่างทั้งสองฝ่าย ต่อไปเรื่องการเงิน ต่อไป การมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด วันนี้เรากำลังมองไปที่สามหัวใจสำคัญนี้

 

ความโปร่งใสหรือการบัญชีที่ชัดเจนในประเด็นนี้ถือเป็นหนึ่งในปัญหาใหญ่ของการเจรจาเรื่องสภาพภูมิอากาศโลก เนื่องจากความยากลำบากในการตรวจสอบตัวแปรต่างๆ และความอ่อนไหวด้านอธิปไตยของแต่ละประเทศ หลายครั้งพบว่ามีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่าที่รายงานไว้อย่างมาก เช่น ในปี 2022 สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศพบว่าการปล่อยก๊าซมีเทนมีมากกว่าที่ประเทศต่างๆ ยอมรับถึง 70%

 

ข้อมูลการใช้จ่ายด้านการเงินเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศก็ถูกปกปิดและบิดเบือนอย่างร้ายแรงเช่นกัน การสืบสวนของรอยเตอร์เมื่อปีที่แล้วพบว่า อิตาลีได้ช่วยเปิดร้านไอศกรีมในเครือในเอเชีย และญี่ปุ่นได้จัดหาเงินให้กับโรงไฟฟ้าถ่านหินในบังคลาเทศและการขยายสนามบินในอียิปต์ ภายใต้หน้ากากของการเงินเพื่อสภาพภูมิอากาศ  

 

ด้วยเหตุนี้ ภายใต้ข้อตกลงปารีสปี 2015 ประเทศต่างๆ จึงต้องเริ่มส่งรายงานเพื่อความโปร่งใสใหม่ โดยประเทศที่พัฒนาแล้วจะต้องยื่นคำร้องก่อนในปี 2022 ส่วนประเทศกำลังพัฒนา กำหนดเส้นตายคือสิ้นปีนี้

 

มุกห์ตาร์ บาบาเยฟ หวังว่าประเทศต่างๆ จะส่งรายงานล่วงหน้าก่อนการประชุม COP29 เริ่มขึ้นในวันที่ 11 พฤศจิกายนนี้ เพื่อเป็นแนวทางในการปลดล็อกปัญหาด้านการเงิน หากประเทศยากจนสามารถแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าพวกเขากำลังพยายามลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ปรับตัวให้เข้ากับผลกระทบ และรับผิดชอบต่อการเงินด้านสภาพภูมิอากาศที่ได้รับ ประเทศร่ำรวยก็จะมีข้ออ้างน้อยลงในการหลีกเลี่ยงการสนับสนุนทางการเงินแก่พวกเขา

 

นอกจากความโปร่งใสแล้ว อีกประเด็นสำคัญคือบทบาทของประเทศผู้ผลิตเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งต้องมีส่วนร่วมอย่างจริงจังในการรับมือกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ แม้ว่าจะมีข้อกังวลว่าพวกเขาอาจถูกมองว่าเป็นต้นตอของปัญหา แต่บาบาเยฟเชื่อว่ามีการยอมรับเพิ่มขึ้นถึงความจำเป็นในการต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา และพร้อมที่จะให้การสนับสนุน

 

อย่างไรก็ตาม อาเซอร์ไบจานเป็นประเทศที่พึ่งพาน้ำมันและก๊าซเป็นอย่างมาก ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 90% ของการส่งออกของประเทศ และคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าครึ่งหนึ่งของงบประมาณของรัฐ ทั้งนี้ มุกห์ตาร์ บาบาเยฟยังมีประสบการณ์มากมายด้านน้ำมันและก๊าซ จะเป็นผู้นำการประชุม COP29 ซึ่งว่าด้วยเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นหัวใจสำคัญ จึงกระตุ้นให้เกิดการวิพากวิจารณ์โดยผู้คลางแคลงใจ ก่อให้เกิดคำถามเกี่ยวกับความมุ่งมั่นในการยุติการใช้ "เชื้อเพลิงฟอสซิล" ทั่วโลกในอาเซอร์ไบจาน

 

อ้างอิง:

 

ข่าวล่าสุด

นักเคลื่อนไหวฟ้องรัฐบาล 'รัสเซีย' เหตุนโยบายรับมือโลกร้อน 'อ่อนแอ' เกินไป

นักเคลื่อนไหวฟ้องรัฐบาล 'รัสเซีย' เหตุนโยบายรับมือโลกร้อน 'อ่อนแอ' เกินไป

Read More...